คำยินดี

ยินดีต้อนรับเข้าสู้บล็อกเกอร์ของดิฉันนางสาววันวิสาข์ รุ่งโรจน์นภากร เอกสังคมศึกษา คบ.2 หมู่ 3 รหัส544110111 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครื่อข่ายการเรียนรู้ การสร้างการออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถดลือกใช้ ออกแบบ สร้าง การปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิขาที่จะรับผิดชอบในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาความรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

คุณธรรม จริยธรรม

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่

1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ

2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต

3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต

4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา

5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ

6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

วินัยและการรักษาวินัย

1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น

3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง

6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง

7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ

8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง

9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน

10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด

13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว

จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ

7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คุณธรรม จริยธรรมของครู

จริยธรรมเป้าหมายทั้งหมดมี 20 ประการ คือ

1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร

2.ครูต้องมีวินัยตนเอง

3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง

4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น

5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน

6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์

7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที

9.ครูต้องไม่ประมาท

10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี

11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ

12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา

13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น

14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์

15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา

16.ครูต้องมีการให้อภัย

17.ครูต้องประหยัดและอดออม

18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ

20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

หน่วยที่ 6



ความสำคัญและที่มา

การจัดการการศึกษาในปัจจุบัน ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ต้องยึดหลักว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ซึ่งตรงกับวิธีที่เรียกว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ผู้สอนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ชี้แนะแนววิธีเรียนรู้แบบต่างๆและอธิบายความรู้พื้นฐาน ให้ผู้เรียนเข้าใจสำหรับเป็นพื้นฐานที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ด้วยตนเอง ตามวิธีเรียนรู้ที่ได้รับการชี้แนะ และพัฒนาเป็นวิธีเรียนรู้ของตนเอง
สื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ซึ่งนอกจากที่จะสร้างความสนใจใฝ่รู้ในการเรียนแล้ว  ยังทำให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย  ดังที่ได้กล่าวไว้ ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(5)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน และอำนวยสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
ข้าพเจ้า นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์  ในฐานะของครูผู้สอน รายวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำ นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอน ขึ้น ซึ่งเป็นการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียน   ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ อันส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นของผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์

1.  ผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.  เพื่อใช้สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเรียนรู้  สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้เรียน
3.  เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอน ที่เป็นไปตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
4.  เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ด้านปริมาณ -   นักเรียน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในการใช้สื่อการ เรียนการสอน
ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยมีผลการ
ประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน
และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยมีผลการประเมิน
ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
ด้านคุณภาพ -   ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความ
สนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน
และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
-   ได้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน

เป้าหมาย

ด้านปริมาณ
-   นักเรียน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในการใช้สื่อการ เรียนการสอนประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนและการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยมีผลการประเมิน    ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
ด้านคุณภาพ
-   ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
-   ได้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

-     ความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้และความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
-     คุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
  2. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
  3. พัฒนาสื่อและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
  4. ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
  5. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และสามารถนำสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไปใช้ ประกอบการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  6. การสร้างเครือข่ายของการพัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนของครู มีการเผยแพร่และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น